ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม คืออะไร ?

Things you need to know about "Domain name"

โดเมนเนม (domain name) คืออะไร

โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทมที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมดเช่น hostneverdie.com หรือ Hostneverdie .com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้นจะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ ได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้น ยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา

Sub Domain คือ อะไร ?

Sub Domain เป็นเว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain ชื่อ sanook.com เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.sanook.com แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://news.sanook.com sub domain มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจ หลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ

ประเภทของ Domain Name ?

1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

โดนเมนเนม 2 ระดับ
ประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.hostneverdie.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

  • .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
  • .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
  • .edu คือ สถาบันการศึกษา
  • .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
  • .mil คือ องค์กรทางทหาร

โดนเมนเนม 3 ระดับ
ประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.chula.ac.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
  • .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .ac คือ สถาบันการศึกษา
  • .go คือ องค์กรของรัฐบาล
  • .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
  • .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
  • .th คือ ประเทศไทย
  • .cn คือ ประเทศจีน
  • .uk คือ ประเทศอังกฤษ
  • .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
  • .au คือ ประเทศออสเตรเลีย

หลักการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name)

ชื่อโดเมนก็เหมือนกับตราสินค้า หากชื่อโดเมนจดจำได้ง่ายก็จะช่วยให้ลูกค้าจำเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น
สามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ลักษณะของโดเมนที่ดีควรประกอบด้วย
  • ชื่อต้องสั้น เนื่องจากการจดจำเว็บไซต์จดจำได้ง่าย ไม่สับสน และเมื่อต้องการค้นหาเว็บไซต์ผ่านทาง Search engine ก็สามารถทำได้ง่ายกว่าการจดจำชื่อเว็บไซต์ที่ยากมากกว่า
  • จำง่าย พูดง่ายและสะกดง่าย ในบางครั้งการเข้าเว็บไซต์ก็มาจากการบอกหรือการรับฟัง เห็นป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ทั่วไป ถ้าโดเมนจดจำได้ง่าย พูดและสะกดง่าย ก็ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง
  • หากชื่อยาวต้องจำง่าย ในกรณีที่ชื่อเว็บไซต์ยาวต้องเป็นประโยคที่จดจำง่าย ความหมายตรงตัว อ่านแล้วเข้าใจ เช่น www.hostneverdie.com สามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ได้
  • เติม S หรือไม่เติม S บางครั้งผู้ใช้อาจสับสนว่าชื่อโดเมนนั้นจะเติม S หรือไม่เติม S ดี แต่เพื่อต้องกันการเข้าใจผิดควรจดทะเบียนไว้ทั้งสองแบบ เพื่อป้องกันลูกค้าเข้าใจผิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ – (ขีดกลางหรือ Hyphen) การเข้าเว็บไซต์โดยใช้ขีดกลาง เป็นการเขียนโดเมนที่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากเวลาที่คนพูดถึงจะไม่นิยมพูดถึงขีดกลางด้วย แต่จะรวบคำไปเลย เช่น ควรใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า www.hostneverdie.com แทนที่จะใช้ www.host-never-die.com
  • ถ้ามีบริษัทชื่อสินค้าหรือบริการ ก็ใช้ชื่อของสินค้าหรือบริการตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ เนื่องจากสินค้าและบริการของคุณเป็นที่รู้จักแล้ว การใช้ชื่อสินค้าหรือบริการเป็นชื่อเว็บไซต์จะทำให้บริษัทของคุณดูมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วย
  • ชื่อเว็บไซต์แสดงลักษณะของบริการภายในเว็บไซต์ ในกรณีนี้จะทำให้ชื่อเว็บไซต์ง่ายต่อการค้นหาและจดจำได้ส่วนหนึ่ง เช่น จะค้นหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เว็บไซต์ที่ให้คำว่า Host หรือ Hosting เป็นชื่อประกอบจะค้นหาได้ง่ายกว่าการใช้ชื่อเฉพาะ
  • ในกรณีที่ใช้ชื่อที่ไม่มีความหมายตั้งชื่อเว็บไซต์ แต่ขอให้จำง่ายเป็นการดี เนื่องจากชื่อที่ใช้เหล่านั้นอาจจะเป็นคำที่ง่ายต่อการจดจำ และสิ่งที่สนับสนุนให้เว็บไซต์มีคนเข้าอาจจะเป็นคุณภาพการบริการที่ดีของเว็บไซต์นั้นด้วย

ข้อกำหนดในการตั้งชื่อโดเมน
  • การจดโดเมนจะต้องจดทะเบียนเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 - 10 ปี
  • ชื่อโดเมนต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้น จำนวนตัวอักษร (รวมเครื่องหมาย -) และนามสกุลสูงสุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร (สำหรับโดเมน .th จะต้องมีตัวอักษรอย่างน้อย 2 ตัว แต่ไม่เกิน 24 ตัว)
  • ตัวอักษรพิเศษที่ไม่สามารถใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่ ! @ # $ % ^ & ฿ * ( ) + | / < > , ' ? \" [ ] { } _
  • ตัวเลข 0-9 สามารถนำมาใช้ในชื่อโดเมนได้ ซึ่งสามารถขึ้นต้น, ระหว่างชื่อโดเมน, หรือลงท้ายได้
  • สามารถใช้เครื่องหมาย - เพื่อคั่นระหว่างตัวอักษรได้ แต่ไม่สามารถนำมาขึ้นต้น หรือลงท้ายได้
  • ชื่อโดเมนไม่สามารถประกอบด้วยช่องว่าง เว้นวรรค ในตำแหน่งใดๆ

การเลือกนามสกุลโดเมนให้เหมาะกับเรา
  • .com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร ธุรกิจที่แสวงหากำไร บางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์อื่นๆ ด้วย
  • .net ย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย ธุรกิจที่เกี่ยวกับเครือข่ายมักใช้กับเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  • .org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กร หรือกลุ่มบุคล มักใช้กับ องค์กรไม่หวังผลกำไร และ เว็บไซต์ของส่วนราชการ
  • .info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูล หรือการให้ข้อมูล ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น
  • .name ย่อมากจาก .name หมายถึง เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับชื่อ
  • .biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
  • .us ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
  • .co.th หมายถึง Company Thailand คือ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ผู้จดโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนใน ประเทศไทย
  • .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผู้จดโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้ ต้องใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  • .or.th ย่อมาจาก organization Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
  • .in.th หมายถึง Individual/Incorporation Thailand คือ เว็บไซต์เกี่ยวกับองค์กรและบุคคลทั่วไป แบบใครขอก่อนได้ก่อน
  • .net.th ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง เว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย

Transfer Domain Name : การโอนย้ายโดเมนเนมมาที่ Hostneverdie มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ตรวจสอบก่อนว่าโดเมนเนมของท่านจดไว้กับ Registrar รายใดโดยให้เจ้าหน้าที่ของเราตรวจสอบให้ค่ะ

2. การย้ายโดเมนเนม มี 2 แบบ คือ Transfer Registrar และ Transfer Reseller หาก registrar โดเมนของท่านเป็น PDR Ltd. d/b/a PublicDomainRegistry.com จะเป็นการย้ายโดเมนแบบ Transfer Reseller (ให้ข้ามไปอ่านข้อ 4) สำหรับ registrar อื่นๆ จะเป็นย้ายโดเมนแบบ Transfer Registrar (ให้อ่านข้อ 3)

3. Transfer Registrar คือ การเปลี่ยนผู้ให้บริการโดเมนเนมหลัก เช่น โอนจาก Enom - > Directi เป็นต้น การ Transfer Registrar ท่านต้องติดต่อผู้ให้บริการโดเมนเนมรายเดิมของท่าน เพื่อให้ทำการ Unlock โดเมนเนม พร้อมกับขอ Transfer Auth Code จากนั้นให้สั่งซื้อโดเมนหน้าเว็บโดยเลือกเป็นการย้ายโดเมนและแจ้งชำระเงินผ่านหน้าเว็บ หรือส่งเมลล์รายละเอียดมาที่ [email protected] เมื่อตรวจสอบการชำระค่าบริการเรียบร้อยทางเราจะส่ง url สำหรับย้ายโดเมนให้ เมื่อได้รับอีเมลแจ้งย้าย ท่านต้องคลิกลิงค์ในเนื้อหาอีเมลกลับเพื่อเป็นการยืนยันการย้ายโดเมนเนมโดยท่าน ต้องคลิกลิงค์กลับภายใน 5 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าคุณปฏิเสธที่จะย้ายโดเมน การย้ายโดเมนแบบ Transfer Registrar ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน

4. Transfer Reseller คือ การเปลี่ยนตัวแทนผู้ให้บริการโดเมน โดยโดเมนเนมยังคงอยู่กับผู้ให้บริการโดเมนเนมหลัก (Registrar) รายเดิม การย้ายโดเมนเนมที่จดกับ PDR Ltd. d/b/a PublicDomainRegistry.com สามารถทำได้ทันที โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราทาง [email protected] เพื่อให้เรา Move Service ให้ค่ะ การย้ายโดเมนโดยวิธีนี้ลูกค้าต้องเตรียม domain control panel ของผู้ให้บริการเดิมให้เราค่ะ


เงื่อนไขการโอนย้ายโดเมนเนม (.com .net .org .info .name .biz .us)

  • โดเมนต้องยังไม่หมดอายุจากนายทะเบียนเดิม
  • การย้ายโดเมนเนมแบบ Transfer Registrar ต้องดำเนินการก่อนที่โดเมนเนมจะหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
  • โดเมนต้องจดทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน
  • โดเมนต้องไม่ถูกล็อค
  • โดเมนต้องไม่มีหนี้ค้างชำระค่าจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนรายเดิม
  • อีเมลตามที่ระบุใน Administrative Contact ต้องสามารถใช้งานได้ปกติ เพื่อใช้ในการยืนยันการย้ายโดเมน
  • ต้องใช้ Auth-Code ในการยืนยันการย้ายโดเมน โดยขอได้จากผู้รับจดทะเบียนรายเดิม
  • การย้ายโดเมนแบบ Transfer Registrar จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน หลังจากคุณยืนยันกลับ
  • การย้ายโดเมนจะไม่มีผลต่อเว็บไซต์ หรืออีเมล เป็นเพียงการย้ายผู้ดูแลโดเมนเท่านั้น

Name Server คืออะไร

Name Server เป็น Server ที่ทำการแปล ชื่อ Url เป็น เลข IP เพื่อที่จะได้ทราบว่า ที่อยู่ Url นั้น อยู่ ที่ Server ใดซึ่งสามารถทำได้ด้วย name server เพียงอันเดียว แต่การกำหนดให้แต่ละโดเมนมีอย่างน้อย 2 name server ได้กลายเป็นมาตรฐานไปแล้ว back-up system นี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะถ้า primary name server ไม่ว่าง ในการค้นหา secondary name server จะเข้ามาทำหน้าที่แทนทันที

ทำไมต้องแก้ไข name server ของโดเมน

ระบบ Internet นั้น มีการเรียกชื่อ Serverเป็น แบบ IP ซึ่งทำให้จดจำได้ยาก ดังนั้นจึงมีการ สร้างระบบ Domain Name ขึ้นมา เพื่อให้จำได้ง่าย เช่น hostneverdie.com หมายถึง IP:122.155.X.XXX เป็นต้น ดังนั้น จึงมี Name Server ไว้เพื่อให้บริการแปลง ชื่อโดเมน เป็น IP Address

ที่ต้องแก้ไข name server ให้เป็น name server ของผู้ให้บริการ ก็เพื่อให้ทราบว่า เวลาเรียก yourdomain.com เป็นการ ชึ้ที่หมายปลายทางไปที่ name Server เพื่อ ทำการแปลเป็น IP (Resolved IP) ของ server ที่มี website ท่านอยู่ ดังนั้น ถ้าใส่เลข name server สำหรับ โดเมนของท่านไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้ เวลาเรียก url แล้วไม่พบ website

สำหรับท่านที่ใช้บริการ web hosting กับเราให้ใส่ไปตามที่เราบอก แต่หากจดโดเมนกับเราด้วย พนักงานของเราจะบริการเปลี่ยน name server ให้ท่านเองค่ะ

DNS คืออะไร

DNS ย่อมาจาก Domain Name System เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่าง รวดเร็ว ทำงานด้วยระบบ 2 ตัว คือ Name Server และ Resolver ซึ่ง Resolver มีหน้าที่ถาม ส่วน Name Server มีหน้าที่ตอบ กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP address หรือทำกลับกันได้ ในระบบ DNS จะมีการกำหนด name space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีกลไกการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของ Client/Server ความหมายของเรคอร์ด ที่ใช้อยู่ทั่วไป

  • A จะเป็นตัวบอกว่าชื่อเครื่อง มี ip อะไร
  • CNAME เป็นการบอกชื่อเครื่องกับชื่อเครื่อง เช่น X CNAME Y หมายถึง X เป็นชื่อเล่นของ Y
  • NS เป็นตัวชี้ทาง โดเมนกับชื่อเครื่อง เช่น a.com. = ns1.a.com. หมายถึง ns1.a.com เป็นที่เก็บฐานข้อมูลของ a.com
  • MX ย่อมาจาก Mail Exchanger จะมีหน้าที่บอกชื่อเครื่องรับอีเมลของโดเมนนั้นๆ
ทำไมถึงต้องรอหลังจากเปลี่ยน DNS

การเปลี่ยน DNS ของโดเมนเนม เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ฐานข้อมูลที่ต่างประเทศแต่เวลาเปิดเว็บไซต์ มันไม่ได้เช็คข้อมูลที่ฐานข้อมูลต่างประเทศ ว่าโดเมนเนมที่เปิดนั้น มี DNS ชี้ไปที่ไหนแต่ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) จะมีตารางเก็บข้อมูล DNS ว่าโดเมนเนมไหน มีค่า DNS เป็นอะไรดังนั้นเวลาคุณเปลี่ยน DNS แล้ว ไปทดลองเปิดโดเมนเนมนั้นทันที คุณจะพบว่ามันยังเข้าไปที่ Host เก่าหรือเปิดเว็บไซต์ไม่ได้ นั้นเป็นเพราะ ISP ยังไม่อัพเดทข้อมูลจากทางฐานข้อมูลต่างประเทศที่คุณเพิ่งได้แก้ไขไปถามว่าต้องรอนานไหม ?… กว่า ISP จะอัพเดท DNS ของโดเมนคุณ อันนี้ขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละที่แต่ส่วนมากอย่างช้าคือ 4 วันค่ะ

วงจรชีวิตของโดเมน

domain life cycle

หากโดเมนว่างเราสามารถจดโดเมนได้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1-10 ปี หลังจากจดโดเมน 5 วัน เจ้าของโดเมนสามารถย้ายโดเมนได้

เมื่อโดเมนหมดอายุลง หน้า web page จะถูกแสดงเป็นหน้า default ของ Registrar แต่ละราย ในระหว่างนี้ โดเมนจะไม่สามารถใช้งานได้อีเมลต่างๆ ที่ถูกส่งมายังโดเมนดังกล่าวจะถูกตีกลับ

ภายใน 45 วัน (ขึ้นกับ registrar) หลังจาก domain หมดอายุ เจ้าของโดเมนสามารถต่ออายุได้โดยไม่เสียค่าปรับใดๆ แต่ต้องต่ออายุกับผู้ให้บริการจดโดเมนรายเดิมเท่านั้น ไม่สามารถย้ายเพื่อไปต่ออายุกับผู้ให้บริการรายอื่นได้ ระยะเวลา 0-45 วันหลังจาก domain หมดอายุเรียกว่า Grace Period

หลังจาก Grace period โดเมนจะเข้าสู่ช่วง Redemption Period เป็นระยะเวลา 30 วัน ในช่วงเวลานี้ เจ้าของโดเมนสามารถต่ออายุได้แต่ต้องเสียค่าปรับหลายพันบาท

หลังจาก Redemption Period โดเมนจะเข้าสู่ช่วง Pending Delete เป็นระยะเวลา 5 วัน ก่อนที่โดเมนจะถูกลบออกจากระบบและว่างเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วไปสามารถจดโดเมนชื่อนั้นๆ ใหม่ได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนและหลังโดเมนหมดอายุจะมีอีเมลแจ้งเตือนไปยังเจ้าของโดเมนทั้งจากทาง registrar และจากระบบ Customer Support ของ Hostneverdie แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นเจ้าของโดเมน ควรให้ความใส่ใจกับโดเมนของท่านเองด้วยค่ะ