เว็บโฮสติ้ง โฮสติ้ง หรือ โฮสต์ เป็นรูปแบบของการให้บริการที่ให้ผู้ใช้งานนำเว็บไซต์หรือโฮมเพจของตนเองออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เว็บไซต์ปรากฏต่อสายตาคนทั้งโลกง่ายๆ เพียงแค่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์(Domain Name) ในเว็บบราวเซอร์ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องฝากไฟล์เว็บ ฐานข้อมูล และไฟล์อื่นๆ ไว้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิ์ภาพสูงและเชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วจากทุกมุมโลก
นอกจากความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์แล้วเสถียรภาพของเซิร์ฟเวอร์และครือข่ายข้อมูล รวมทั้ง ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันและที่สำคัญที่สุดผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่างๆ ในการดูแลระบบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วและติดต่อได้สะดวก
เว็บโฮสติ้งโซลูชั่นมีหลายประเภท เราควรเลือกโซลูชั่นให้เหมาะกับเว็บไซต์ของเราประเภทของเว็บโฮสติ้งโซลูชั่นที่พบได้บ่อยมีดังนี้
1. Shared Web Hosting
Shared Web Hosting หรือเรียกอีกชื่อว่า Virtual Hosting เป็นการฝากเว็บไซต์ไว้กับ Web Server ที่ให้บริการเว็บไซต์ของลูกค้าอีกจำนวนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ shared hosting จึงมีข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในด้านของ Traffic และชนิดของ software หรือ script ที่สามารถใช้ได้ เช่นผู้ให้บริการหลายๆ รายไม่ให้ติดตั้ง wordpress mu สำหรับ Shared Hosting เป็นต้น แต่ Shared Hosting มีข้อดีคือประหยัดและลูกค้าไม่ต้องดูแล Web Server และระบบ Network เอง เพราะผู้ให้บริการจะทำหน้าที่ดูแลด้านนี้ให้อยู่แล้ว
2. Virtual Private Servers (VPS) Hosting
VPS Hosting ย่อมากจาก Virtual Private Server Hosting เป็นการจำลองแบ่งเครื่อง Server ประสิทธิภาพสูง ออกเป็น Server เสมือนจำนวนหนึ่ง โดย Server เสมือนแต่ละตัวนี้จะถูกเรียกว่า Virtual Machine และทำงานได้เสมือนกับ Dedicated Server 1 เครื่อง VPS แต่ละเครื่องนี้จะแยกการทำงานออกจากกันโดยสิ้นเชิง ถ้า VPS ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะไม่มีผลกับการทำงานของ VPS ตัวอื่น ๆ ในระบบ ข้อดีของ VPS Hosting คือสามารถปรับเปลี่ยน Configurations ของซอฟท์แวร์ต่างๆ เช่น Apache, IIS, PHP, Perl modules, MySQL และ อื่นๆ ได้อย่างอิสระนอกจากนี้ ราคาของ VPS Hosting ก็ประหยัดกว่าการติดตั้ง Web Server เอง แต่ข้อเสียของ VPS Hosting คือไม่สามารถรองรับ Traffic ที่เท่าวาง Server เอง
3. Dedicated Hosting and Collocated Hosting
เว็บโฮสติ้งโซลูชั่นนี้เป็นโซลูชั่นที่แพงที่สุด เหมาะสำหรับเว็บที่ Traffic สูงมาก เว็บที่ต้องการ uptime สูงเป็นพิเศษ หรือเว็บที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลมาก ข้อแตกต่างระหว่าง Dedicated Hosting และ Collocated Hosting คือแบบแรกเป็นการเช่าหรือเช่าซื้อเครื่อง Server ที่วางที่ IDC แต่แบบหลังเป็นการนำ Server ของเราเองไปวางที่ IDC โดยเสียค่าเช่าพื้นที่วางตามที่ตกลง ข้อดีของโฮสติ้งโซลูชั่นนี้คือสามารถลองรับเว็บขนาดใหญ่ได้ มีความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นเจ้าของทั้ง Harddisk แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงและอาจจะต้องจ้าง System Admin มาดูแล หากขาดความรู้เรื่องระบบหรือไม่มีเวลา
เมื่อมีโดเมนแล้วต่อมาคุณก็ต้องเลือกเว็บโฮสติ้งเพื่อนำเว็บไซต์ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ราคาไม่ใช่ตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของโฮสติ้งเสมอไปความเสถียรของโฮสต์และบริการหลังการขายต่างหากที่เป็นตัวชี้วัดคุุณภาพของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเว็บโฮสติ้ง
1. ความเร็วและความเสถียร์ของโฮสต์
นอกจากความเร็วของโฮสต์แล้วความเสถียรของโฮสต์ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โฮสต์ที่ดีควรมีค่า uptime อย่างน้อย 99% หรือถ้าให้ดีควร 99.5% ขึ้นไป หากเซิร์ฟเวอร์ที่เราใช้นั้นเสีย หรือมีเหตุที่ทำให้ใช้การไม่ได้บ่อยๆแล้ว ก็จะทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจแล้ว ภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือของธุรกิจของเราจะแย่ไปด้วย
2. เว็บคอนโทรลพาเนล
ผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรมีเว็บคอนโทรลพาเนลให้ลูกค้า และควรเป็นคอนโทรลพาเนลที่ใช้งานง่ายและมีฟังก์ชันพื้นฐานที่จำเป็นครบถ้วน
3. การบริการหลังการขาย
ผุ้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีควรจะติดต่อได้ตลอดเวลาเมื่อโฮสต์เกิดปัญหา นอกจากการตอบสนองที่รวดเร็วแล้วผุ้ให้บริการเว็บโฮสติ้งควรจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิกพอสมควร คุณคงไม่อยากฝากเว็บไซต์ ไว้กับมือสมัครเล่น ที่ขายของเป็นอย่างเดียว แต่แก้ปัญหาอะไรไม่เป็นเลย
4. ระบบที่รองรับ
เว็บของคุณจะใช้โปรแกรมภาษาอะไรในการพัฒนา ? ชนิดและจำนวนฐานข้อมูลที่ต้องการ ? จำนวน email account ที่ต้องการ ? สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการเลือกเว็บโฮสติ้ง
5. ระบบสำรองข้อมูล
ผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรสำรองข้อมูลให้ลูกค้าอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
6. ความปลอดภัย
โฮสต์ที่ดีควรมีระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกัน spyware, spam, viruses, DDoS attacks หรือ phishers ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามความปลอดภัยขึ้นกับผุ้ใช้บริการเป็นสำคัญด้วย เช่น ควรตั้งรหัสต่างๆ ให้ปลอดภัย