File Manager เป็นเมนูทางเลือกหนึ่งการช่วยจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆบน Host (web server) โดยสามารถใช้งานบน Web Browser ได้เลย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้การจัดการไฟล์ในขณะที่เราไม่สะดวกใช้งาน FTP ส่วนประกอบและฟังก์ชั่นหลักๆของเมนูนี้ได้แก่
- รายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ ไฟล์เว็บทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ที่ folder public_html ซึ่งควรมี index.html หรือ index.php ในหน้านี้เพราะมันจะเป็นหน้าแรกในการเข้าถึงเว็บผ่าน web browser ส่วน folder public_ftp เป็น folder ไว้สำหรับใช้งานในส่วนของ anonymous FTP ซึ่งทางเราขอปิดการใช้งานตรงส่วนนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยของเว็บท่านเองและ (Host) web server ของเรา
- Create New Folder ใส่ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Create
- Create New File ใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Create ซึ่งหากต้องการให้ไฟล์ที่จะสร้างมีโครงสร้างของภาษา HTML มาด้วยให้ติ๊กที่กล่อง HTML Template ก่อนกดปุ่ม Create
- Upload Files to Current Directory กดปุ่ม Upload Files to Current Directory จะไปยังหน้าจอดังรูป
ท่านสามารถ Upload ไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของท่าน เข้าไปในโฟลเดอร์ปัจจุบัน บน Host (Web Server) ได้ โดยกดปุ่ม Browseเพื่อเลือกไฟล์ในคอมพิวเตอร์ของท่าน แล้วกดปุ่ม Upload Files จากหน้าจอนี้จะเห็นว่าสามารถ Upload ไฟล์ได้พร้อมกันมากสุดครั้งละ 8 ไฟล์แต่หากท่านต้องการ Upload ไฟล์ครั้งละมากกว่า 8 ไฟล์ ก็สามารถทำได้โดยการกดที่ปุ่ม Upload Even More Files แล้วใส่จำนวนไฟล์ที่ต้องการลงไปกดปุ่ม OK จะมีหน้าต่างใหม่ที่สามารถ Upload ไฟล์ได้พร้อมๆกันในจำนวนที่ท่านต้องการ เด้งขึ้นมา
- Set Permission file and folder permission เป็นการกำหนดการอนุญาติให้บุคคลต่างๆใช้งานไฟลหรือโฟลเดอร์นั้นในงานใดบ้าง โดยค่า permission ที่มีโอกาสใช้บ่อยๆมีดังนี้
- 644 คืออนุญาติให้คนทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว
- 755 คืออนุญาติให้คนทั่วไปอ่านและใช้งานได้ แต่เขียนไม่ได้
- 777 ทุกคนสามารถอ่าน เขียน และใช้งานได้
ในการ install cms ต่างๆอาจมีการตั้งค่า permission เป็น 777 เพื่อให้สามารถ install และปรับค่า config ได้ ซึ่งหากทำการ install และ config เสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรตั้งค่า permission ของไฟล์เป็น 644 และตั้งค่า permission ของโฟลเดอร์เป็น 755 เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากค่า permission 777 เป็นค่าที่มีความปลอดภัยน้อยที่สุด อย่าตั้ง permission เป็น 777 โดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เว็บเสี่ยงต่อการโดน virus หรือโดน Hack มากยิ่งขึ้น
- Delete ติ๊กกล่อง check box หลังไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม Delete
- Add to Clipboard (ลักษณะเดียวกับปุ่ม Ctrl+c หรือ Ctrl+x ใน Window) ติ๊กไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Add to Clipboard เพื่อเตรียมนำไปใช้ในข้อ 8 และ 9
- Compress clipboard files to ใช้ในการบีบอัดไฟล์ที่อยู่ใน Clipboard ให้อยู่ในรูปไฟล์ .tar.gz หรือ ไฟล์ .zip ใช้ประโยชน์ในการลดเวลาที่ใช้ในการ Download ไฟล์จำนวนหลายๆไฟล์ลงเครื่องของท่าน โดยการบีบอัดเป็นไฟล์เดียวก่อน แล้วจึงค่อย Download
- Copy Clipboard Files Here / Move Clipboard Files Here / Empty Clipboard (ลักษณะเดียวกับปุ่ม Ctrl+v ใน Window)
- ปุ่ม Copy ใช้ในการสำเนาไฟล์ที่อยู่ใน Clipboard มายังโฟลเดอร์ปัจจุบัน
- ปุ่ม Move ใช้ในการย้ายไฟล์ที่อยู่ใน Clipboard มายังโฟลเดอร์ปัจจุบัน
- ปุ่ม Empty ใช้ล้างความจำที่อยู่ใน Clipboard